วันเสาร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

แผนการอบรม การจัดฝึกอบรมการดับเพลิงขั้นต้น

แผนการอบรมดับเพลิง

การอบรมดับเพลิงสำหรับสถานประกอบการนั้นกฎหมายกำหนดไว้ ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างได้รับการอบรมดับเพลิงขั้นต้น อย่างน้อย 40% ของพนักงานแต่ละแผนก เพื่อให้มีพนักงานที่ผ่านการเป็นการอบรมดับเพลิงขั้นต้นกระจายอยู่ทุกแผนกของสถานประกอบการนั้นๆ หากเกิดเพลิงไหม้ขึ้นจะสามารถดับเพลิงได้ทันที
แผนการอบรมดับเพลิง

อบรมดับเพลิง โดยหน่วยงานฝึกอบรมดับเพลิงขั้นต้น

กฏหมายกำหนดไว้ว่า การอบรมดับเพลิงขั้นให้กับลูกจ้างของสถานประกอบการ จะต้องให้หน่วยฝึกอบรมดับเพลิงขั้นต้นที่ได้รับใบอนุญาตจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงเป็นผู้ดำเนินการฝึกอบรม ใช้เวลาในการฝึกอบรมอย่างน้อย 6 ชั่วโมง แบ่งเป็นภาคทฤษฎี 3 ชั่วโมง ภาคปฏิบัติ 3 ชั่วโมง หน่วยงานฝึกอบรมดับเพลิงขั้นต้นจะมีทั้งหน่วยงานของรัฐและเอกชน หน่วยงานของรัฐ เช่น สถานีดับเพลิงในกรุงเทพมหานคร หน่วยดับเพลิงเทศบาล อบต.ฯลฯ หน่วยฝึกอบรมที่เป็นของเอกชน คือบริษัทห้างร้านที่ได้รับใบอนุญาตจากกรมสวัสดิการและคุมครองแรงงานให้เป็นผู้ฝึกอบรมดับเพลิงขั้นต้นนั้นเอง

อบรมดับเพลิง โดยการให้ความรู้กับลูกจ้างของสถานประกอบการเอง

การอบรมดับเพลิงของสถานประกอบการไม่จำเป็นต้องจัดขึ้นปีละครั้ง หรือรอจัดอบรมหลักสูตรอบรมดับเพลิงขั้นต้นเพียงอย่างเดียว แต่การให้ความรู้ด้านการป้องกันและแนวทางการปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ สามารถทำได้่ทุกเมื่อโดยวิทยากรของสถานประกอบการเองเพื่อการให้ความรู้เกี่ยวกับอันตรายที่จะเกิดขึ้นขณะปฏิบัติงาน โดยเฉพาะลูกจ้างที่รับเข้ามาทำงานใหม่ให้รู้จักแผนผังอาคารเส้นทางหนีไฟ แนวทางการปฏิบัติ จุดรวมพล เป็นต้น 

การอบรมดับเพลิงให้กับพนักงานทั้งในเชิงป้องกันและปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุ ซึ่งการเกิดอัคคีภัยภายในสถานประกอบการ ย่อมนำมาซึ่งความสูญเสียต่อธุรกิจการค้าทั้งทางตรงและทางอ้อม ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินเสียหาย การผลิต การบริหารหยุดชะงัก เสียโอกาสการขาย หรืออาจถึงขั้นมีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต ดังนั้นในการป้องกันและลดความเสี่ยงด้านการเกิดอัคคีภัย จึงจำเป็นต้องจัดให้มีแผนการอบรมดับเพลิง โดยกำหนด ผู้รับผิดชอบ ระยะเวลาดำเนินการ และงบประมาณให้ชัดเจน

ตัวอย่างของหลักสูตรที่ต้องจัดทำในแผนอบรมที่กฏหมายบังคับ

การจัดฝึกอบรมดับเพลิงขั้นต้น

การฝึกอบรมดับเพลิงภาคทฤษฎีมีเนื้อหาวิชา ดังต่อไปนี้
  • ทฤษฎีการเกิดเพลิงไหม้ 
  • การแบ่งประเภทของเพลิง และวิธีดับเพลิงประเภทต่าง ๆ 
  • จิตวิทยาเมื่อเกิดอัคคีภัย 
  • การป้องกันแหล่งกำเนิดของการติดไฟ 
  • เครื่องดับเพลิงชนิดต่าง ๆ
  • วิธีการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ใช้ในการดับเพลิง
  • แผนป้องกันและระงับอัคคีภัย 
  • การจัดระบบป้องกันและระงับอัคคีภัย การประยุกต์ใช้ระบบและอุปกรณ์ที่มีอยู่ใน สถานประกอบกิจการ
การฝึกอบรมดับเพลิงภาคปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ 
  • ฝึกดับเพลิงประเภท เอ ด้วยการใช้ถังดับเพลิงที่ใช้น้ำสะสมแรงดัน หรือสารดับเพลิงที่สามารถดับเพลิงประเภท เอ 
  • ฝึกดับเพลิงประเภท บี ด้วยการใช้ถังดับเพลิงที่ใช้สารดับเพลิง ชนิดคาร์บอนไดออกไซด์ โฟม ผงเคมีแห้ง หรือสารดับเพลิงที่สามารถดับเพลิงประเภท บี 
  • ฝึกดับเพลิงประเภท ซี ด้วยการใช้ถังดับเพลิงที่ใช้สารดับเพลิง ชนิดคาร์บอนไดออกไซด์ ผงเคมีแห้ง หรือสารดับเพลิงที่สามารถใช้ดับเพลิงประเภท ซี 
  • ฝึกดับเพลิงโดยใช้สายดับเพลิง และอุปกรณ์ที่มีใช้ในสถานประกอบการ

การฝึกซ้อมดับเพลิงและฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ

  • แผนการดับเพลิงและวิธีการดับเพลิงของสถานประกอบกิจการ 
  • แผนการอพยพหนีไฟและวิธีการอพยพหนีไฟของสถานประกอบกิจการ
  • การค้าหา ช่วยเหลือ และเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย

ตัวอย่างของหลักสูตรที่ควรจัดทำในแผนอบรมเพิ่มเติม

  1. การการปฐมพยาบาล
  2. การเคลี่ยนย้ายผู้ประสบภัย
  3. การผายปอดและการนวดหัวใจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น