วันจันทร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

แผนการดับเพลิงและวิธีการดับเพลิง ของสถานประกอบการ

แผนการดับเพลิง

แผนป้องกันและระงับอัคคีภัยของสถานประกอบการจะประกอบด้วยแผนการดับเพลิงรวมอยู่ด้วย แผนการดับเพลิงเป็นแผนที่มีลำดับขั้นตอนการปฏิบัติตั้งแต่มีผู้พบเหตุเพลิงไหม้ไปจนถึงเพลิงสงบ โดยกำหนดให้ผู้พบเหตุเพลิงไหม้ปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ เช่น เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ให้ผู้พบเห็นแจ้งให้หัวหน้างานหรือเพื่อนร่วมงานทราบแล้วทำการดับเพลิงทันที โดยมีแนวทางการดับเพลิงขั้นต้นและขั้นรุนแรง

แผนการดับเพลิง



ก่อนการจัดทำแผนการดับเพลิงของสถานประกอบการสิ่งสำคัญอีกอย่างที่นายจ้างต้องจัดเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ระงับเหตุเพลิงไหม้ ตามความเหมาะสมของปริมาณเชื้อเพลิง ชนิดของเชื้อเพลิงพื้นที่และลักษณะของอาคาร  กล่าวโดยรวมแล้วอุปกรณ์เหล่านี้เรียกว่า"ระบบระงับเหตุเพลิงไหม้"

ระบบระงับเหตุเพลิงไหม้

ระบบน้ำดับเพลิง

ระบบน้ำดับเพลิง สามารถใช้ทำการดับเพลิงขั้นต้นได้อย่างเพียงพอและสามารถดับเพลิงได้ครอบคุมทุกส่วนของอาคาร ประกอบด้วย

ที่กักเก็บน้ำ จัดเตรียมน้ำสำรองไว้ใช้ในการดับเพลิงให้เพียงพอต่อปริมาณพื้นที่ของอาคาร กรณีภายในสถานประกอบการมีหลายอาคารให้ใช้พื้นที่ของอาคารที่มีขนาดใหญ่สุดตามที่กำหนดไว้ในตาราง

น้ำดับเพลิง

เครื่องสูบน้ำดับเพลิง ระบบการส่งน้ำ ที่เก็บกักน้ำ เครื่องสูบน้ำดับเพลิง และการติดตั้ง จะต้องได้รับการตรวจสอบ และรับรองจากวิศวกรตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร และต้องมีการป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายจากเพลิงไหม้ ยานพาหนะ หรือสิ่งอื่น

ท่อรับน้ำดับเพลิง


ท่อรับน้ำดับเพลิง คือท่อที่ใช้รับน้ำจากหน่วยดับเพลิงท้องถิ่นซึ่งติดตั้งอยู่ภายนอกอาคารเพื่อรับน้ำไปใช้ทำการดับเพลิงในอาคาร ต้องใช้ข้อต่อชนิดและขนาดตรงกับหน่วยดับเพลิงท้องถิ่นนั้นๆ โดยส่วนมากจะใช้ข้อต่อชนิดสวมเร็ว ขนาด 2.5 นิ้ว

ท่อรับน้ำดับเพลิง


ตู้ดับเพลิงและข้อต่อสายน้ำดับเพลิง ตู้ดับเพลิงโดยทั่วไปจะมีสายดับเพลิงพร้อมหัวฉีดติดตั้งอยู่ภายในตู้สามารถเปิดวาล์วใช้งานได้เลย และภายในตู้ดับเพลิงจะมีข้อต่อสำหรับต่อกับสายน้ำดับเพลิงซึ่งข้อต่อที่ว่านี้ต้องเป็นชนิดและขนาดตรงกับหน่วยดับเพลิงของทางราชการในท้องถิ่น



สายส่งน้ำดับเพลิง ต้องมีความยาวหรือต่อกันให้มีความยาวเพียงพอที่จะควบคุมบริเวณที่เกิดเพลิงไหม้ได้

สายส่งน้ำดับเพลิง


หัวฉีดน้ำดับเพลิง  โดยทั่วไปมี 2 แบบ คือ ชนิดฉีดน้ำเป็นลำตรง (Straight line)เป็นหัวฉีดที่ปรับไม่ได้ น้ำที่ออกมาจะเป็นลำ ซึ่งมีใช้กันอยู่ทั่วไป และชนิดฉีดน้ำเป็นฝอย (Fog)เป็นหัวฉีดน้ำที่สามารถปรับน้ำให้เป็นลำหรือเป็นฝอย โดยมีรัศมีตั้งแต่ 0-120 องศา เพื่อใช้ในการหล่อเย็นหรือนำทีมดับเพลิงเข้าไปโดยอาศัยฉากน้ำเป็นตัวไล่ไอของสารให้เจือจาง และกันรังสีความร้อน เปลวไฟ เพื่อเข้าปิดวาล์วดับเพลิงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งหัวฉีดน้ำนี้เป็นที่นิยมใช้กันอย่างมาก

หัวฉีดน้ำดับเพลิง

เครื่องดับเพลิงแบบเคลี่ยนย้ายได้

“เครื่องดับเพลิงแบบเคลื่อนย้ายได้” หมายความว่า เครื่องดับเพลิงซึ่งมีลักษณะเป็นอุปกรณ์ที่เคลื่อนย้ายได้โดยสะดวก และใช้งานด้วยมือ ภายในบรรจุสารดับเพลิงซึ่งสามารถขับออกได้โดยใช้แรงดัน เช่น เครื่องดับเพลิงแบบมือถือ แบบยกหิ้ว แบบลากเข็น หรือลักษณะอื่นใดที่คล้ายกัน อาจจะเรียกสั้นๆว่า"ถังดับเพลิง"

ถังดับเพลิง


การเลือกถังดับเพลิง สำหรับสถานประกอบการนั้นควรเลือกจากชนิดของเพลิงและความสามารถในการดับเพลิง ได้รับตามมาตรฐานที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกำหนด

จำนวนและการติดตั้งถังดับเพลิง ให้คำนวณตามพื้นที่ของสถานที่ซึ่งมีสภาพเสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัย ตามที่กำหนดไว้ในตาราง  ถ้ามีเศษของพื้นที่ให้นับเป็นพื้นที่เต็มส่วน ที่ต้องเพิ่มจำนวนเครื่องดับเพลิงขึ้นอีกหนึ่งเครื่อง สำหรับเพลิงประเภท Aและฺ B สำหรับเพลิงประเภท C พิจารณาจากวัตถุ ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงว่าจะทำให้เกิดเพลิงประเภท A หรือ B และติดตั้งถังดับเพลิงที่ใช้ดับเพลิงประเภทนั้น โดยต้องมีระยะเข้าถึงไม่เกินยี่สิบสองเมตรห้าสิบเซนติเมตร ถังดับเพลิงที่ใช้ดับเพลิงประเภท D ในการติดตั้งให้มีระยะเข้าถึงไม่เกินยี่สิบสามเมตร

ตารางคำนวณการติดตั้งถังดับเพลิงใช้ดับเพลิงประเภท A
ตารางคำนวณการติดตั้งถังดับเพลิงชนิด A

ตารางคำนวณการติดตั้งถังดับเพลิงใช้ดับเพลิงประเภท B
ตารางคำนวณการติดตั้งถังดับเพลิงชนิด B
จัดหาอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ใช้ในการดับเพลิงและการฝึกซ้อมดับเพลิงซึ่งต้องอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดี เช่น เสื้อคลุมดับเพลิง รองเท้า ถุงมือ หมวก หน้ากากป้องกันความร้อนหรือควันพิษ อย่างน้อยให้เพียงพอกับจำนวนผู้ทำหน้าที่ดับเพลิงนั้น

เมื่อสถานประกอบการได้จัดเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการดับเพลิงเป็นที่เรียบร้อยแล้วการวางแผนการดับเพลิงก็ให้สอดคล้องเครื่องมือและกับอุปกรณ์ที่เรามีอยู่ เพราะแผนการดับเพลิงจะต้องทำการฝึกซ้อมแผนทุกๆปีควบคู่ไปกับการฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ

แผนการดับเพลิงจะเป็นการลำดับขั้นตอนของแผนโดยแบ่งแผนดับเพลิงออกเป็น 3 ขั้นตอน
  1. แผนขั้นตอนปฏิบัติเมื่อพนักงานพบเหตุเพลิงไหม้
  2. แผนปฏิบัติการระงับเหตุเพลิงไหม้ขั้นต้น
  3. แผนปฏิบัติการเมื่อเหตุขั้นรุนแรง

ตัวอย่างลำดับขั้นตอนปฏิบัติเมื่อพนักงานพบเหตุเพลิงไหม้

ขั้นตอนการดับเพลิง

1.เมื่อพนักงานพบเหตุเพลิงไหม้-->>แจ้งหัวหน้างานหรือเพื่อนร่วมงานและเข้าดับเพลิงทันที
          กรณีดับเพลิงได้ ให้รายงายผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น-->>หัวหน้างาน-->>หัวหน้าหน่วย-->>ผู้จัดการฝ่าย-->>ผู้บริหาร
          กรณีดับเพลิงไม่ได้ ใช้แผนปฏิบัติการระงับเหตุเพลิงไหม้ขั้นต้น แจ้ง เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย แจ้งฝ่ายประชาสัมพันธ์

รายชื่อทีมดับเพลิง

2.เมื่อใช้แผนปฏิบัติการระงับเหตุเพลิงไหม้ขั้นต้นแล้ว แจ้งเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย และฝ่ายประชาสัมพันธ์ ทราบแล้วดำเนินตามแผน
            กรณีดับเพลิงได้ ให้รายงายผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น-->>หัวหน้างาน-->>หัวหน้าหน่วย-->>ผู้จัดการฝ่าย-->>ผู้บริหาร

แผนดับเพลิงขั้นรุนแรง

          กรณีดับเพลิงไม่ได้รายงานผู้บริหาร-->>ตัดสินใจแจ้งหน่วยดับเพลิงท้องที่-->>ใช้แผนปฏิบัติการเมื่อเหตุขั้นรุนแรง

แผนทั้งหมดนี้จะทำเป็นโครงสร้าง แบ่งออกเป็นฝ่าย แต่ละฝ่ายมีหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติขณะใช้แผนและมีผู้รับผิดชอบฝ่าย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น