แผนอพยพหนีไฟของสถานประกอบการ
สถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่สิบคนขึ้นไป จะต้องจัดทำแผนป้องกันและระงับอัคคีภัยของสถานประกอบการประกอบด้วย แผนตรวจตรา แผนอบรม แผนรณรงค์ป้องกันอัคคีภัย แผนดับเพลิง แผนอพยพหนีไฟ และแผนบรรเทาทุกข์ ในบทความนี้จะกล่าวถึงแผนอพยพหนีไฟซึ่งเป็นแผนในการอพยพลูกจ้างออกจากอาคารเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ ก่อนจัดทำแผนอพยพหนีไฟจำเป็นอย่างยิ่งที่นายจ้างต้องจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกในการอพยพหนีไฟสิ่งอำนวยความสะดวกในการอพยพหนีไฟ
เส้นทางหนีไฟ
สำคัญที่สุดคือเส้นทางหนีไฟโดยทุกชั้นของอาคารต้องมีทางหนีไฟอย่างน้อยชั้นละสองเส้นทางซึ่งสามารถอพยพลูกจ้างที่ทำงานในเวลาเดียวกันทั้งหมดสู่จุดที่ปลอดภัยหรือจุดรวมพลได้โดยปลอดภัยภายในเวลาไม่เกินห้านาที เส้นทางหนีไฟต้องปราศจากสิ่งกีดขวางจากจุดที่ลูกจ้างทำงานไปจนถึงไปจนถึงจุดรวมพลประตูหนีไฟ
หรือประตูที่ใช้ในเส้นทางหนีไฟต้องทำด้วยวัสดุทนไฟ ไม่มีธรณีประตูหรือขอบกั้น และเป็นชนิดที่ บานประตูเปิดออกไปตามทิศทางของการหนีไฟกับต้องติดอุปกรณ์ที่บังคับให้บานประตูปิดได้เอง ห้ามใช้ ประตูเลื่อน ประตูม้วน หรือประตูหมุน และห้ามปิดตาย ใส่กลอน กุญแจ ผูก ล่ามโซ่ หรือทำให้ เปิดออกไม่ได้ในขณะที่มีลูกจ้างทำงานไฟฉุกเฉิน
ไฟที่สามารถให้มีแสงสว่างได้ทันทีเมื่อไฟฟ้าดับ เพื่อให้มีแสงสว่างเพียงพอตามเส้นทางหนีไฟ สำหรับอพยพลูกจ้างออกจากอาคารเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ รวมทั้งจัดให้มีแหล่งจ่ายไฟฟ้าสำรองที่สามารถจ่ายไฟฟ้าเพื่อการหนีไฟ และสำหรับใช้กับอุปกรณ์ดับเพลิงขั้นต้นหรืออุปกรณ์อื่นที่เกี่ยวข้องได้ในทันทีที่ไฟฟ้าดับป้ายบอกทางหนีไฟ
มีขนาดของตัวหนังสือต้องสูงไม่น้อยกว่าสิบห้าเซนติเมตร และเห็นได้อย่างชัดเจน มีแสงสว่างในตัวเองหรือใช้ไฟส่องให้เห็นได้อย่างชัดเจนตลอดเวลา ทั้งนี้ ต้องไม่ใช้สีหรือรูปร่างที่กลมกลืนกับสีผนังหรือกลมกลืนไปกับการตกแต่งหรือป้ายอื่น ๆ ที่ติดไว้ใกล้เคียง หรือโดยประการใด ที่ทำให้เห็นป้ายไม่ชัดเจนแผนผังแสดงเส้นทางหนีไฟ
โดยปิดประกาศไว้ตามจุดต่างๆ เพื่อแสดงให้เห็นว่าหากเราอยู่ตรงจุดนี้สามารถหนีไฟไปตามเส้นทางใหนได้บ้าง และยังเป็นแผนผังภายในอาคารเมื่อเกิดเหตุเพลิงขึ้นจะทำให้บุคคลภายนอกหรือ เจ้าหน้าที่ดับเพลิงที่เข้ามาทำการดับเพลิงทราบถึงลักษณะภายในของอาคารทั่วกันหลักในการเขียนแผนอพยมหนีไฟ
การเขียนแผนอพยพหนีไฟ เป็นการเขียนแผนที่นำไปสู้การฝึกซ้อมจริงตามแผนที่เขียนไว้โดยจะฝึกซ้อมควบคู่ไปกับแผนดับเพลิง ซึ่งนายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างทุกคนฝึกซ้อมดับเพลิงและฝึกซ้อมอพยพหนีไฟพร้อมกันอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้งตามแผนที่ได้เขียนไว้นั้นเองแผนอพยพหนีไฟ กำหนดขึ้นเพื่อความปลอดภัยของชีวิติและทรัพย์ของพนักงานและของสถานประกอบการในขณะเกิดเหตุเพลิงไหม้
แผนอพยพหนีไฟที่กำหนดขึ้นนั้น มีองค์ประกอบต่างๆ เช่น หน่วยตรวจสอบจำนวนพนักงาน ผู้นำทางหนีไฟ จุดนัดพบ หน่วยช่วยชีวิต และยานพาหนะ ฯลฯ ควรได้กำหนดผู้รับผิดชอบในแต่ละหน่วยงานโดยขึ้นตรงต่อผู้อำนวยการอพยพหนีไฟหรือผู้อำนวยการดับเพลิง ดังนี้
ผู้อำนวยการอพยพหนีไฟหรือผู้อำนวยการดับเพลิง
ชื่อ........................................................................
ผู้ช่วยผู้อำนวยการอพยพหนีไฟหรือผู้ช่วยผู้อำนวยการดับเพลิง
ชื่อ.......................................................................
ในแผนอพยพหนีไฟควรกำหนดให้มีการปฏิบัติดั้งนี้
- ผู้นำทางหนีไฟ จะเป็นผู้นำทางพนักงานอพยพหนีไฟไปตามทางออกที่จัดไว้
- จุดนัดพบ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "จุดรวมพล" จะเป็นสถานที่ที่ปลอดภัย ซึ่งพนักงานสามารถมารายงานตัวและสามารถทำการตรวจจำนวนได้
- หน่วยตรวจสอบจำนวนพนักงาน มีหน้าที่ตรวจนับจำนวนพนักงานว่า มีการอพยพหนีไฟออกมาภายนอกบริเวณ ที่ปลอดภัยครบทุกคนหรือไม่ หากพบว่าพนักงานอพยพหนีไฟออกมาไม่ครบ ตามจำนวนจริง ซึ่งหมายถึงยังมีพนักงานติดอยู่ภายในพื้นที่เกิดเพลิงไหม้
- หน่วยช่วยชีวิตและยานพาหนะ จะเข้าค้นหาและทำการช่วยเหลือชีวิตพนักงานที่ติดค้างอยู่ในอาคารหรือในพื้นที่ที่เกิดเพลิงไหม้ รวมถึงกรณีของพนักงานที่ออกมาอยู่ที่จุดรวมพลแล้วมีอาการ เป็นลม ซ็อคหมดสติหรือบาดเจ็บเป็นต้น หน่วยช่วยชีวิตและยานพาหนะจะทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้น และติดต่อยานพาหนะในกรณีที่ต้องนำส่งโรงพยาบาล
การฝึกซ้อมดับเพลิงและฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ
เหตุการณ์จำลองแผนอพยพหนีไฟ
เหตุการณ์จำลองและรายละเอียดในการฝึกซ้อมดับเพลิงและฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ ซึ่งประกอบด้วย การกำหนดเวลา รายละเอียดของเหตุการณ์จำลอง และผู้ปฏิบัติ ทั้งนี้ เหตุการณ์จำลองต้องสอดคล้องกับแผนการดับเพลิง แผนอพยพหนีไฟ และมีความเป็นไปได้ที่เหตุการณ์ลักษณะนี้จะเกิดขึ้นเหตุการณ์จำลอง
สมมุติให้เกิดเพลิงไหม้ที่แผนก....................................ชั้น......... เวลา..................น. บริเวณ…………………….……..........................................
โดยต้นเหตุของเพลิงเกิดจาก................................................................................
เจ้าหน้าที่ที่ทำหน้าที่ดับเพลิงของแผนก......................................................................เข้าระงับเพลิง แล้วประเมิน ไม่สามารถระงับเพลิงได้ เนื่องจากเพลิงลุกลามมากขึ้น จึงรายงานตามขั้นตอน
ในเหตุการณ์สมมุติให้มีผู้ติดค้างไม่สามรถอพยพหนีไฟออกมาได้ อยู่ในบริเวณแผนก..................................................... จำนวน.................คน และมีผู้ได้รับบาดเจ็บ...............คน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น